วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อาชีพที่ใฝ่ฝัน

ครูภาษาอังกฤษ


 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์


รายละเอียด คุณสมบัติ แผนการศึกษา
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  (5 ปี)
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)

ชื่อหลักสูตร
          ภาษาไทย: หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (5 ปี)
          ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Education Program in English

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
          ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): การศึกษาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)
          ชื่อย่อ (ภาษาไทย): กศ.บ. (ภาษาอังกฤษ)
          ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Education (English)
          ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.Ed. (English)


จุดเด่นของหลักสูตร


          หลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

เป็นหลักสูตรที่มีการบูรณาการข้ามหลักสูตรอย่างแท้จริง เป็นการร่วมผลิตบัณฑิตวิชาชีพครูระหว่างคณะศึกษาศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์  โดยคณะศึกษาศาสตร์จัดการเรียนการสอนในรายวิชาชีพครู คณะมนุษยศาสตร์จัดการเรียนการสอนในวิชาเอก ทั้งนี้นิสิตได้เรียนอย่างเข้มข้นทั้งวิชาชีพครูและวิชาเอก จบการศึกษาภายในเวลา 5 ปี
เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ โดยมีกระบวนการผลิตการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง เมื่อจบการศึกษาบัณฑิตจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (Teaching license) โดยมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน ของคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
นิสิตได้รับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างเข้มข้น 1 ปี (2 ภาคการศึกษา) ในโรงเรียนที่มีสภาพการเรียนการสอนจริง และได้รับการฝึกฝนให้ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อต่อยอดสำหรับการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการเรียนรู้ เมื่อออกไปปฏิบัติการสอนจริง
          บัณฑิตหลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

          หลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตด้านการศึกษาวิชาชีพครู  สาขาวิชาภาษาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อเป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพ มีความตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนานาชาติ มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์การเรียนรู้แนวใหม่ มีความเป็นครูและเป็นนักวิชาการที่พร้อมด้วยคุณธรรม บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะมีคุณลักษณะ ดังนี้

มีความรู้ ใฝ่รู้ครอบคลุมทั้งในศาสตร์หลายสาขาและศาสตร์สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สามารถจัดการความรู้ในเชิงสหวิทยาการอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ
มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพจริง ตลอดจนมีความคิด ริเริ่ม และสร้างสรรค์ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา
มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรณยาบรรณในวิชาชีพ มีความเป็นผู้นำทางการศึกษา มีจิตสำนึกในการทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยใช้หลักประสานประโยชน์ส่วนรวมตามวิถีประชาธิปไตย เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ธำรงรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาไทย
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ครูภาษาอังกฤษ

บัณฑิตหลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ดังนี้


ด้านวิชาชีพครู/วิชาการ
ครูสอนภาษาอังกฤษระดับปฐมวัยศึกษา ครูระดับประถมศึกษา ครูระดับมัธยมศึกษา และครูการศึกษานอกโรงเรียน
นักวิจัยทางด้านการศึกษาภาษาและการสอนภาษาอังกฤษ
นักวิชาการทางด้านภาษาอังกฤษและวิธีสอนภาษาอังกฤษ
นักวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา

ด้านพัฒนาวิชาการ
นักพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาภาษา
ผู้จัดโครงการส่งเสริม พัฒนาและบริการทางการศึกษา
นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บุคลากร ฝึกอบรม

ด้านบริการวิชาการ
          ผู้จัดการเรียนรู้ศูนย์สำหรับเด็กตามช่วงวัยต่างๆ

อาชีพอื่น ๆ
          อาชีพอื่น ๆ ที่ใช้ความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษในหน่วยงาน/องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน




อาชีพครู คือ อาชีพที่ ถ่ายทอดความรู้ ด้วยวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อาชีพครู สามารถจำแนกออกได้หลายประเภทตามลักษณะการสอนและลักษณะของสังกัดอีกด้วย
เช่น ครูในสังกัดโรงเรียนสามัญ จะประกอบไปด้วยครู 8 กลุ่มสาระ และครูกิจกรรม
ยกตัวอย่างเช่น ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศ ครูผู้สอนภาษาไทย ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนศิลปะ
ครูผู้สอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ครูผู้สอนพลศึกษาและสุขศึกษา ครูผู้จัดกิจกรรมแนะแนว และอื่น ๆ ตามลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูในสังกัดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาสายอาชีพ/อาชีวะ จะประกอบไปด้วยครูผู้มี

ความชำนาญด้านสายอาชีพ
ยกตัวอย่างเช่น ครูผู้สอนช่างยนต์ ครูผู้สอนเขียนแบบ ครูผู้สอนช่างอิเล็กทรอนิกส์ ครูผู้สอนช่างไฟฟ้า
ครูผู้สอนช่างก่อสร้าง ครูผู้สอนช่างกล ครูผู้สอนช่างเชื่อม และครูผู้สอนอื่น ๆ ตามลักษณะสายอาชีพที่ต้องการฝึกฝนผู้เรียนให้เกิดความพร้อมในการประกอบอาชีพ ตามสาขาวิชาที่เปิดสอน ครูนอกสังกัด นับว่าเป็นครูเช่นกัน เช่น ครูในสถาบันกวดวิชา ครูสอนดนตรี ครูสอนเต้น ก็ถือได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นครู แต่ไม่ได้อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ อาจไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู แต่บุคคลเหล่านั้นถือว่าได้มีการสั่งสอน จึงจัดว่าเป็นครู(ตามทัศนคติของผมเอง) หรือมากไปกว่านั้นยังมีครูพื้นบ้าน และผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ เขาก็คือครูโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ตาม และอาจมีประเภทสายการสอนของครูในยุคอนาคตเกิดขึ้นใหม่ตามวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงอีกมากมาย เพราะเกิดวิทยาการใหม่ ๆ ย่อมต้องมีการถ่ายทอดความรู้จึงต้องพึ่งพาผู้มีความรู้มาถ่ายทอด ครูก็คือผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่น เพื่อให้เกิดความรู้และสติปัญญาในเรื่องนั้น ๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ครูภาษาอังกฤษ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพครู

1.  ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์)
2.  มีใบประกอบวิชาชีพครู
3.  มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง ตามวิชาที่ตนถนัด
4.  มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5.  รักเด็ก มีจิตใจโอบอ้อมอารี
6.  ศรัทธาต่อวิชาชีพครู
7.  รักการแสวงหาความรู้
8.  ชอบการสอน
9.  อื่นๆ
นอกเหนือจากนี้คือคุณสมบัติของครูที่มีความสามารถเฉพาะด้านโดยไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้
1)  มีความรู้ ความชำนาญและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
2)  เป็นผู้มากประสบการณ์ และต้องการถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้และทราบ
3)  เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ
4)  อื่น ๆ

ขอบข่ายงานของอาชีพครู
1.  การจัดการสอน/การจัดการเรียนรู้
2.  เป็นที่ปรึกษาให้ผู้เรียน
3.  ดูแลผู้เรียนทุกคนที่อยู่ในโรงเรียน
4.  แสวงหาวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ
5.  หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานและสถานศึกษา

แนวทางการพัฒนาอาชีพครู
1.  ครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
1.1  ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
1.2  ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
1.3  ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
2.  ครูเอกชน
3.  ครูอัตราจ้าง
4.  ครูพี่เลี้ยงเด็ก
5.  ผู้อำนวยการโรงเรียน
6.  เจ้าของกิจการสถานศึกษาเอกชน
7.  เจ้าของกิจการโรงเรียนกวดวิชา
8.  เปิดสอนพิเศษ
9.  ผู้ทรงคุณวุฒิ
10.  นักวิชาการ
11.  นักการศึกษา
12.  อื่น ๆ